top of page

Living Green: การดำเนินชีวิตคำนึงถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อัปเดตเมื่อ 3 ก.ค. 2566

ปัจจุบันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงทางภัยธรรมชาติต่าง ๆ มากมายอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นผลกระทบจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เรานั่นเอง และหนึ่งในในก็คือการใช้พลาสติกชนิดต่างๆ -- แล้วพลาสติกเกี่ยวอะไรด้วย


พลาสติก (Plastic) เป็นวัสดุในกลุ่มพอลิเมอร์ สังเคราะห์ขึ้นจากสารประกอบอินทรีย์ มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สามารถหลอมขึ้นรูปเป็นของแข็งรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย มีการนำมาใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ ภาชนะ บรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ท่อประปา เป็นต้น


พลาสติกโดยทั่วไปสังเคราะห์จากปิโตรเคมี แต่ในปัจจุบันมีพลาสติกที่ทำจากทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable resource) มากขึ้น เช่น ทำจากกรดพอลิแลกติกที่ได้จากข้าวโพด หรือเอทานอลที่ได้จากอ้อย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พลาสติกที่ทำจากวัสดุทางชีวภาพบางชนิดก็ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้


จากการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่ามีการใช้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์ Covid-19 (ค.ศ. 2019 – 2022) และแน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ตามมาคือ มีขยะที่เกิดจากการใช้พลาสติกเพิ่มมากขึ้นจากการสั่งอาหารกลับไปทานที่บ้านกัน ถึงแม้ว่าพลาสติกบางชนิดสามารถรีไซเคิล (Recycle) ได้ก็ตาม


Recycle less : การรีไซเคิลให้น้อยลง


การรีไซเคิล (Recycling) ให้ความรู้สึกดี ที่ได้ทำในชีวิตประจำวันของยุคนี้ แต่มองอีกมุมหนึ่งจะดียิ่งกว่าสำหรับโลกเราคือ การรีไซเคิลให้น้อยลง (Recycle less)


“Recycle” is the last “R” in “reduce, reuse and recycle.”


ทำไมเป็นเช่นนั้น เรามาลองดูกัน ....

Reduce: ลดการใช้

Reuse: การใช้ซ้ำ (การนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบเดิม)

Recycle: การทำให้กลับมาใช้ใหม่



ถึงแม้การรีไซเคิล (Recycling) จะดีกว่าการทิ้งให้เป็นขยะ แล้วนำไปฝังกลบในหลุมขยะ หรือนำไปทิ้งลงทะเล แต่เราทำให้ดีกว่านั้นอีก คือ การลดใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้น้อยลง เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก, ลดมลพิษต่างๆ และพื้นดินที่ใช้ในการฝั่งกลบขยะ


ทำไมเป็นเช่นนั้น เพราะการรีไซเคิล ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการคัดแยก การล้างทำความสะอาด ในขบวนการรีไซเคิลตามชนิดของขยะจะต้องใช้ทั้งพลังงานเพื่อทำให้ขยะกลับไปอยู่ในรูปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งในขบวนการทำนั้นจะต้องใช้สารเคมีและปล่อยมลพิษระหว่างการรีไซเคิลอีกด้วย


และที่สำคัญกว่านั้นวัสดุทั้งหลาย ไม่ใช่ง่ายที่จะทำการ recycle และประการสำคัญ คือ ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สุดท้ายก็ไปจบที่ บ่อขยะอยู่ดี เพราะการกำจัดขยะยังไม่ถูกต้องและกว้างขวางครอบคลุมทุกพื้นที่เท่าที่ควร


ยกตัวอย่างที่เห็นชัดคือ การรีไซเคิลพลาสติก (recycling plastic) เพราะพลาสติกมีทุกที่ทั่วโลก และเป็นการยากมากที่จะให้ทุกคนเข้าใจว่า พลาสติกแบบไหนที่สามารถใช้ซ้ำได้ (Reusable) ได้ พลาสติกไหนไม่สามารถใช้ซ้ำได้ (Do not reuse) พลาสติกชนิดไหนสามารถ Recycle ได้ หรือชนิดไหนที่ไม่ควรใช้ หรือหลีกเลี่ยง (Avoid) ที่จะใช้เลย เพราะยากที่จะนำไปใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลนั่นเอง


มีข้อมูลที่ควรรู้เพื่อความถูกต้องในการช่วยให้อยู่แบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง คือ การรู้ว่าพลาสติกชนิดไหนควรทำอย่างไร ซึ่งเราจะเห็นสัญญาลักษณ์ที่อยู่บนภาชนะนั้นๆ ดังนี้


เมื่อเราทราบชนิดของพลาสติกแล้วเรามาช่วยกันแยกขยะให้ถูกถัง เพิ่มพลังรักษ์โลกกันนะคะ

 

ข้อมูลอ้างอิง

ดู 31 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page