เมื่อฤดูกาลช่วงหน้าหนาวมาเยือน บางครั้งอาจจะทำให้เราสงสัยได้ว่า อันนี้คือ หมอก หรือ ควัน กันแน่ เมื่อประมาณ ช่วงหลังปี ค.ศ. 2020 มานี้ (หรือก่อนหน้านี้) สิ่งที่เรามองเห็นเป็นหมอก แต่ไม่ใช่หมอก ซึ่งการเกิดฝุ่นละอองนั้นมีหลายสาเตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงของโลกเรา เกิดจากมลภาวะต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เราเอง ทั้งภาคอุตสหกรรม และภาคครัวเรือน
ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นนั้นมีตั้งแต่ขนาดใหญ่ จนถึง ขนาดเล็กที่เราทุกคนคุ้นเคยหรือได้ยินกันบ่อย เรียกว่า ฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคเล็กมากๆ มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ ไมโครเมตร หรือหากใครคิดไม่ออกว่าเล็กขนาดไหน ให้ลองเทียบกับเส้นผมของเราที่มีขนาด 100 ไมครอน หรือ ไมโครเมตร ( PM ย่อมาจาก Particulate Matters) บางท่านอาจจะคิดว่าเล็กมามองไม่เห็นหรอกไม่เป็นไร แต่ลองนึกถึงกลุ่มคนหลายหมื่นคนมารวมกันดูนะคะ ว่าจะมีความแออัดขนาดไหน และถ้า PM 2.5 มีจำนวนมาก ๆ มหาศาล จึงทำให้เรามองเห็นคล้ายกับว่าเป็นหมอกหรือควันนั่นเอง
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้จากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ครัวบุหรี่ การเผาขยะ เผาหญ้า เผาเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงานอุตสหกรรม เป็นต้น และฝุ่น PM 2.5 นี้ยังสามารถรวมตัวกับสารมลพิษ เช่น สารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก ด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของจมูก และเข้าไปยังหลอดลมผ่านเข้าไปยังปอดและซึมเข้ากระแสเลือด ส่งผลให้เกิดผลเสียกับร่างกายของเรา
ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
ในวันที่อากาศไม่ดี มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง หลายคนคงรู้สึกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ แน่นอนว่า ระบบที่ส่งผลกระทบเป็นอน่างมากคือ ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งท่านใดมีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้, โรคปอด อาจจะทำให้มีอาการมากว่าคนปกติ และแน่นอนว่า หาหเราหายใจฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าไปในระยะยาว ย่อมมีผลกระทบทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตามมาอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ยังทำลายผิวของเราได้ด้วย เพราะผิวหนังของเราเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกาย จึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับฝุ่นและมลภาวะต่างๆ ได้ยาก
ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสีย หรืออันตรายต่อผิวหนังอย่างไร
เนื่องจากฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ เล็กกว่าขนาดของรูขุมขน จึงสามารถซึมผ่านเข้าผิวหนัง
ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการแดงคัน ระคายเคืองผิว โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย โรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีผื่นกำเริบได้ง่าย
ผิวหน้ามันขึ้น น้ำมันบนหน้าและฝุ่นจะทำให้เกิดการอุดตันของผิว และก่อให้เกิดสิว
กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะทำลายผิว ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย และจุดด่างดำ
เมื่ออากาศที่เราจำเป็นต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันๆนั้นเต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษทำลายร่างกาย เราจะป้องกัน และดูแลตนเองอย่างไรดี?
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรอยู่ในบ้านหรือในอาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีHEPA filter
เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรสวมใส่หน้ากากชนิดที่สามารถกันฝุ่นPM2.5ได้ และใส่ให้ถูกวิธี
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ5หมู่ ทานผลไม้หรือวิตามินที่สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) เช่นวิตามินซี ดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษจากร่างกาย
"PM 2.5 อันตรายกว่าที่คิด ใส่ใจกันสักนิด เพื่อชีวิตและผิวสวยของเราอย่าลืมป้องกัน และช่วยกันลดฝุ่น PM 2.5 นะคะ" - หมอโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
การดูแลปกป้องผิวหนังจากฝุ่น PM 2.5 ทำได้อย่างไร
ควรทำความสะอาดผิว/ล้างหน้าให้สะอาดทันที ภายหลังจากต้องสัมผัสกับฝุ่นมลพิษ
ใส่เสื้อผ้าแขนยาว เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคือง และลดการเห่อของผื่น
ทาครีมบำรุงผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นและทำให้เกราะป้องกันของผิวแข็งแรงขึ้น
หากป้องกันผิวดีแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาผิวหนัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้พวกเราควรช่วยกันลดการสร้างฝุ่นมลพิษนี้
การพยายามลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้ขนส่งสาธารณะแทน หรือหากจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว ก็พยายามเดินทางพร้อมๆ กันหลายๆคน
ลดการเผาขยะ/กระดาษ/หญ้า, สูบบุหรี่
ช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับฝุ่นมลพิษ
การตรวจเช็คค่า PM 2.5
เพื่อการดูแลตัวเอง และคนรอบข้าง ก่อนออหจาหบ้านอาจจะต้องทำการตรวจเช็คค่า PM 2.5 ปัจจุบันมีหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นบนมือถือ หรือบางบ้านอาจจะมีเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น หากท่านไหนไม่มีอุปกรณ์สามารถเข้าไปตรวจเช็คค่า PM 2.5 โดยคลิกปุ่มด้านล่างนี้ได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง
- บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
- https://www.iqair.com/th/thailand/bangkok
Commentaires